วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6



ธรรมะเรื่องกฎแห่งกรรม





กิจกรรมที่ 5


ครูที่ชื่นชอบ



นายจตุรพัฒน์ วิไลรัตน์ ครูดีเด่นปี 2551

Ø  ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.บ.)วิชาเอกพื้นฐานการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มรับราชการเป็นครูครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518
ปัจจุบันเป็นครูสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3) โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครูจตุรพัฒน์ เป็นครูด้วยจิตวิญญาณ มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอนมามากกว่า 33 ปี ได้สร้างความประทับใจ ความภูมิใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ศรัทธายอมรับของนักเรียน เพื่อนครู ชุมชนและสังคม ให้ความรัก ความเมตตาศิษย์ อบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

Ø  ผลงานด้านการเรียนการสอน
ครูจตุรพัฒน์ จะเน้นการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากนักเรียนที่สอนเป็นนักเรียนที่ด้อยโอกาส มีสติปัญญาในระดับปานกลางถึงอ่อนและอ่อนมาก แต่คุณครูจตุรพัฒน์ ได้พยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้โอกาสแก่นักเรียนในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง จากการปฏิบัติงานที่เสียสละและทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ส่งผลให้ คุณครูจตุรพัฒน์ ได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ/ครูดีเด่น/รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ณ ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 45 รางวัล อาทิ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2528,2533 ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์ ปี 2548,2549 และ2550 (3 ปีซ้อน) ครูเกียรติยศ(Teacher Award ) ปี พ.ศ.2550 รางวัล Best Practies วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ สาขาคณิตศาสตร์ ปี พ.ศ. 2550 และ รางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ ของคุรุสภา ปี 2550 ฯลฯ
ครูจตุรพัฒน์ เป็นผู้ที่ครองตน ครองคน และครองงาน ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ได้อย่างเหมาะสมดีเยี่ยม อุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ ด้านการสอน และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ต่อโรงเรียน ต่อชุมชน นันทนาการ ทั้งในเชิงสร้างสรรค์อนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิชาการของโรงเรียนวัดสันติธรรม วิชาการเครือข่ายที่ 5 เป็นวิทยากรผู้ชำนาญการ ให้การสนับสนุนนักเรียนจนสามารถ เป็นเยาวชนดีเด่นในประเภทต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กีฬาและกองเชียร์ และทางด้านศาสนา ให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน และชุมชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์ ช่วยเหลือพัฒนาทั้งในและนอกโรงเรียนการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือนักเรียน และโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์เต็มใจและจริงใจ สม่ำเสมอตลอดมา สมกับประโยคที่ว่า"ครูผู้เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม นำความรู้เพื่อเพื่อนครูและสอนนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ"

Ø  ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
 ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์ ปี 2548,2549 และ2550 (3 ปีซ้อน)และ รางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ ของคุรุสภา ปี 2550

Ø  การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
       ในการสอนนักเรียนนั้นจะมีความพยายามในการสอนอย่างเต็มความสามารถ มีความเสียสละและทุ่มเทกับหน้าที่ เป็นครูที่ดีและเป็นที่ไว้วางใจของลูกศิษย์ จะปฏิบัติตนและยึดแนวทางที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม ให้คำปรึกษาที่ดี มีความยุติธรรม และปรับปรุงตนให้มีศักยภาพที่ดีเพื่อจะได้พัฒนาลูกศิษย์ให้จบออกไม่อย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรม

กิจกรรมที่ 4


การทำงานเป็นทีม
แนวคิดหลักในการเป็นทีมนั้นก็เพื่อที่มุ่งหวังให้งานที่ทำนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงสุด เพราะการทำงานเป็นทีมนั้นต้องมีการร่วมมือกันจากบุคคลหลายๆบุคคล จึงทำให้มีโอกาสที่จะได้วางแผนที่ดี มีระบบทำงานที่ดี ปลูกฝังความสามัคคี มีความเสียสละ รู้จักภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน และฝันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน จนทำให้งานที่ร่วมกันทำด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จออกมาอย่างที่ตั้งใจไว้
ซึ่งวิธีการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นทุกคนก็จะต้องยอมรับความเหมือนและความแตกต่างและอุปนิสัยของบุคคลในทีมได้ รู้จักการเสียสละ นำประสบการณ์ของแต่คนมาเป็นความรู้และวิธีการในการดำเนินงานให้เป็นประสิทธิภาพ และต้องมีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น ในวันแรกทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันร่างแผนการปฏิบัติงาน วันที่สองอธิบายจุดประสงค์ของงานที่เราจะต้องทำร่วมกัน วันที่สามแบ่งหน้าที่การทำงาน อีกห้าวันรวบรวมชิ้นงานและประเมินผลชิ้นงาน วันต่อไปก็มีการแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงาน หลังจากนั้นก็รวบรวมชิ้นงานอีกครั้งและทำการประเมินชิ้นงานใหม่ หากเห็นพร้อมกันว่าชิ้นงานนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีแล้วก็จะจัดทำการเรียบเรียงชิ้นงาน และทำการวิเคราะห์และประเมินผลต่อไป
การทำงานให้มีประสิทธิภาพมีหลายวิธี วิธีที่ผมคิดว่าน่าจะดีคือ
- มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
              - จัดการด้วยตนเอง
              - พึ่งพาตัวเอง
              - ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ
        ตัวอย่างเช่น ทีมมีความเป็นหนึ่งเดียวกันสมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน และ / หรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน และ / หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างทำ           ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีลักษณะโดดเด่นและสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความสำเร็จด้วย จัดการด้วยตนเอง
ทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้างเฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิกยอมรับบทบาท ของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็น ความต้องการและความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่างจึงอาจเป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตาม คนอื่น ๆ ก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไปในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปในแนวของโครงสร้างองค์กร และสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตามพึ่งพาตัวเองสมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะร่วมมือกับคนอื่น ๆ เพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จอย่างไม่หลีกเลี่ยง ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้คำปรึกษาแนะนำและชักจูงเมื่อจำเป็น ร่วมประสานงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำงานเกินกำลังหรือประสบปัญหายุ่งยากอันใดพวกเขาจะร่วมมือกัน เช่น อาจปกปิดคนที่มาทำงานสายหรือ เลิกงานก่อนเวลา           ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะโดยทั่วไปแล้วทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมักจะมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่โตเกินไปนัก เพื่อให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์และจัดการด้วยตัวเองได้ แบ่งงานกันทำอย่างยุติธรรม แบ่งปันความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างเปิดเผย ร่วมกันคิดแก้ปัญหาอย่างฉับไวและทันกาล สมาชิกสัก 5 คนต่อทีมเป็นขนาดที่กำลังพอดี ถ้ามากไปกว่านั้นอาจเสียเวลาในการอภิปรายกลุ่ม ในขณะที่สมาชิกคนหนึ่งหรือสองคนกำลังทำงาน คนอื่น ๆ อาจไม่เข้าไปมีส่วนร่วมมากนัก อาจมีการจัดกลุ่มที่มีสมาชิกน้อยกว่า 5 คน ซึ่งจะมีบุคคลที่มีความสามารถไม่เพียงพอ หรือมีความรู้ไม่เพียงพอ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในงานก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างเรียบร้อย แต่ไม่ว่ากลุ่มจะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดก็ตาม ท่านอาจไม่อยู่ในสถานะที่จะคัดเลือกได้ จำนวนสมาชิกเลขคี่จะดูสมเหตุสมผลกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาเสียงครึ่งหนึ่งเห็นอย่างหนึ่งเสียงอีกครึ่งหนึ่งเห็นอีกแบบหนึ่งในการตัดสินปัญหาใด ๆ การรู้จักเพื่อนร่วมทีมอีกอย่างหนึ่งที่ควรจำก็คือท่านไม่ควรมีทัศนะต่อเพื่อนร่วมทีมทุกคนว่าจะมีประสิทธิภาพเป็นแบบเดียวกัน เพราะทุกคนจะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไป จึงควรพิจารณาให้ต่างทัศนะกันไป อย่างไรก็ตามบางคนก็อาจมีบุคลิกที่คล้ายคลึงกันแบบที่เราจะกล่าวต่อไป แต่โปรดระมัดระวังอย่าไปคิดว่าคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก เพราะว่าเขาหรือเธออาจมีเพียงบางอย่างที่สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องรู้จักคนแต่ละคนเป็นอย่างดีครับ จึงจะทำให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ

กิจกรรมที่ 3


การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในก่อนยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยใช้วิธีการจำ ใครมีความจำดี หรือสามารถความจำที่ดีก็สามารถเรียนรู้ได้ดี แต่ถ้าใครมีความจำที่ไม่ดีก็ไม่สามารถที่จะเรียนได้ดีเหมือนคนอื่นที่จดจำได้ดี ส่วนการจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนที่มีความความหลากหลาย มีมุมมองที่กว้างไกล การเรียนการสอยจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความเข้าใจ มีอิสระในความคิด สามารถประเมินตนเองได้ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวคือการเรียนรู้ มีเทคโนโลยีใหม่ๆมาอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน จึงทำให้นักเรียนมีประสิทธิภาพที่ดีและมีความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
ดังนั้นในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายมาใช้ในการจักการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยเอง ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีอิสระในความคิด และมุ่งสงเสริมให้นักเรียนรู้ตนเองและพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

กิจกรรมที่2


ทฤษฏีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ
โดยมาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต  (Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม
 มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎีนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลย ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าพอเราจะได้ผลประโยชน์จากใครก็มองเขาดีไปหมด ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่ดีไปเสียทุกอย่าง แต่พอได้ผลประโยชน์ไปแล้วหรือเป็นคนที่ไม่มีผลประโยชน์สำหรับเราแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะไม่ดีไปเสียทั้งหมด ถึงแม้ว่าที่จริงแล้วเขาก็ไม่ใช่คนที่เลวร้ายนัก
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y

William Ouchi : ทฤษฎี Z
        ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไร เป็นคนคิดขึ้นมา
วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1. ใช้วิธีแบบ Long Term Employment  หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น  ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2. จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility  คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3. ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ

 Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
            Henri Fayol (1841-1925) เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1.  การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)

อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)
         อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work) การจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests)
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความสามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับ
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสุดอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม
11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน

 Max  Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
              แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy) โดยสำนักงานหรือตำแหน่งต่างๆถูกจัดให้เป็นลำดับชั้น โดยสำนักงานและตำแหน่งงานที่อยู่ใต้หน่วยงาน หรือตำแหน่งงานนั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลในระดับสูงขึ้นไป
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection) ทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงานนั้นจะถูกคัดเลือกมาตามความสามารถและคุณสมบัติซึ่งแสดงให้เห็นได้ด้วยการฝึกอบรม การศึกษาที่ได้รับ และการจัดให้มีระบบการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และการกำกับการทำงานของพนักงาน ผู้ทำหน้าที่ด้านการจัดการจึงต้องมีกฏเกณฑ์เอาไว้เพื่อเป็นการกำกับพฤติกรรมของทั้งสองฝ่าย
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality หมายถึงการไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ไม่มีการถือเอาสายสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นใหญ่ ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถ้าจะทำอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) โดยฝ่ายบริหารเองก็ไม่ใช่เจ้าขององค์การ แต่เป็นนักบริหารหรือนักจัดการที่เข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของตน โดยแยกความผูกพันและความเป็นเจ้าของออกจากกัน คนทำงานแต่ละระดับก็ได้รับอัตราค่าตอบแทนอย่างเป็นระบบ มีเลื่อนขั้น และการเติบโตภายในหน่วยงานได้ตามลำดับ

Luther Gulick : POSDCORB
           Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
B คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผนและการควบคุมด้านการเงินการบัญชี

 Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
 เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* การบังคับบัญชา
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2. ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* การได้รับการยอมรับ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
* ความก้าวหน้าในงาน
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอกหรือพูดให้ง่าย ๆ ก็ต้องบอกว่าปัจจัยภายนอกจะทำให้คนพึงพอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก ส่วนปัจจัยภายในจะก่อให้เกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
         เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ

Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
 Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studiesแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ ศึกษาในเรื่องของเวลาและการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองช่างเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในยุคปัจจุบันการลดรอบการทำงาน หรือการลดระยะเวลาการทำงานเพื่อให้ได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมคือสิ่งจำเป็นที่หลายหน่วยงานจะต้องทำ ถือว่าเป็นเรื่องของการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน สำคัญถึงขนาดจะต้องทำสัญญาต่อกันเลยว่าจะต้องปฏิบัติให้ได้ ถ้าทำไม่ถึงเกณฑ์ก็จะอดโบนัส หรือได้น้อยลงไป

กิจกรรมที่ 1



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

การบริหาร คือ กลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน และสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดี และมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
     ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริการอื่นๆ
1.ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ การบริหารราชการแผ่นดิน มีความประสงค์เพื่อความอยู่ดีกินดี ส่วน    การบริหารการศึกษา มุ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ                                                              2.บุคคล                                                                                                                                        2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่ให้บริการทางการศึกษาคือ ครูอาจารย์ผู้อำนวยการ  ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนดี แตกต่างจากผู้บริหารราชการแผ่นดิน                                                                2.2 ผู้รับบริการ ผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา  จะเป็นเด็กเยาว์วัย  ส่วน บุคคล ที่รับบริการราชการแผ่นดินคือคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว                                                                                   3.กรรมวิธีในการดำเนินงาน การบริหารการศึกษา เป็นกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน การบริหารราชการและการบริหารธุรกิจจะนำไปใช้ไม่ได้                                                                               4.ผลผลิต การบริหารการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษา ส่วนผลผลิตทางการ               บริหาราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่นมีคลองระบายน้ำ
ภารกิจทางการบริหารการศึกษา  หรืองานบริหารการศึกษาโดยทั่วไปแบ่งได้ 5 ประเภท                         1.การบริหารวิชาการ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสอน ครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ                                                                                               2. การบริหารธุรการ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ และงานบริการอื่นๆ                      3. การบริหารงานบุคคล เป็นการสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นครู                                                           4. การบริการกิจการนักเรียน เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียน เช่นการปฐมนิเทศ การปกครองนักเรียนสามารถเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนดีคนเก่งได้                                                              5. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน  เป็นการบริหารงานกับชุมชน  สามารถทำให้นักเรียนมีคุณภาพ เพราะเมื่อเรียนแล้วสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เเนะนำตนเอง


ชื่อนายเศรษฐ์  จินมุณี
ชื่อเล่น แม๊กครับ

การศึกษา
   ระดับมัธยมศึกษาต้นจบมาจากโณงเรียนโยธินบำรุง
   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจบมาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
   ตอนนี้ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์  หลักสุตรสังคมศึกษา
งานอดิเรก
   เล่นบอล ดูบอล
   ฟังเพลง
นิสัย
   เป็นคนไม่ค่อยพูดกับใคร ชอบอยู่คนเดียว
คติประจำตัว
   ทำวันนี้ให้ดีที่สุด  เพื่อพัมนาวันพรุ่งนี้ให้ดียิ่งกว่า